Fact Of Product

เราคือตัวแทนจำหน่ายสินค้าของแบรนด์ Umarex ประเทศเยอรมันนี บริษัทนี้ได้รับใบอนุญาตการค้าในสหภาพยุโรปฯอย่างถูกต้องนับตั้งแต่ปี 1972 โดย CIP และสินค้ามีการออกใบรับรอง PTB Certificate จากผู้ผลิตรับรองวัถุประสงค์ของสินค้าโดยกำหนดไปที่โครงสร้างและระบบการทำงานที่ตรงวัตถุประสงค์ ตรวจสอบด้วยหน่วยงานวิทยาศาสตร์การอาวุธแห่งเยอรมันนี ดังนั้นสินค้า Umarex ไม่สามารถนำไปดัดแปลงให้ใช้กับลูกจริงได้
        จุดเด่นของปืนแบลงค์กัน Blank Gun
  • ปืนแบลงค์กันผลิตขึ้นด้วยวัสดุโลหะผสม (Zinc Alloy) บางรุ่นเป็นเฟรมพลาสติก (Plastic) ที่เหมาะสมกับดินดอกไม้เพลิง
  • ใช้ได้กับลูกแบลงค์ Knall เป็นดินดอกไม้เพลิง ไม่ใช่ดินขับเคลื่อน
  • มีปลอกเรืองแสง หรือ จุกส้มแสดงความแตกต่าง
  • มีแกนเหล็กตันลำกล้องตายตัว และไม่สามารถถอดลำกล้องได้
  • มีเลขบันทึกเฟรมปืน (Serial Number)
  • ผู้ผลิตมีการอนุญาตการผลิตภายใต้กฎหมายของสหภาพยุโรป CIP ตรวจสอบวัสดุและระบบต้องแตกต่างจากอาวุธปืน
  • ผลิตจากบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านอาวุธและเทคโนโลยีสูง อย่าง Umarex, BBM, Retay, Zoraki, Blow เป็นต้น
  • ช่วยทำให้รู้สึกอุ่นใจ และปลอดภัยทุกทิศทาง

        จุดเด่นของลูกแบลงค์ K Knall

  • ลักษณะกระสุนประกอบด้วย Steel Case ภายในบรรจุดินดอกไม้เพลิง คุณภาพเยอรมัน ให้เสียงและแฟลชสมจริง
  • ดินดอกไม้เพลิง คือ ดินปืนในกลุ่มของไพโรเทคนิค (Pyrotechnic) ที่มีการสลายตัวคล้ายดินขับเคลื่อน แต่แรงดันต่ำ และให้แสงสว่างมากกว่าเมื่อเกิดการระเบิด
  • ลูกแบลงค์ผลิตพิเศษเฉพาะใช้กับปืนแบลงค์กันสกุล K (Knall)
  • เป็นกระสุนเสียงชนิดดอกไม้เพลิงแรงดันต่ำไม่เกิน 450 บาร์
  • มีลักษณะเหมือนปลอกกระสุน มีจีบตรงกลางปิด เมื่อไพรเมอร์ถูกประทุจีบจะเปิดปากออกทำให้เกิด แสงเสียง เท่านั้น
  • ปืนแบลงค์กันได้ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ยิงกระสุนแบลงค์ได้ขนาดใดขนาดหนึ่งเท่านั้น และขนาดกระสุนที่ถูกต้องที่สุดคือขนาดที่ระบุไว้อยู่ที่เฟรมปืน ตามคู่มือการใช้งานของแต่ละกระบอก
  • ลูกแบลงค์ใช้ได้ครั้งเดียว ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้
  • ข้อมูลที่ https://en.wikipedia.org/wiki/9mm_P.A.K.

 

CIP หรือ CIPN มีอยู่กับอาวุธปืนทุกกระบอกไม่ว่าจะเป็นปืนจริงหรือปืนแบลงค์กัน ที่จะต้องผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป หรือ COMMISSION INTERNATIONALE PERMANENTE POUR L'EPREUVE DES ARMES A FEU PORTATIVES เรียกย่อๆว่า C.I.P. รับหน้าที่เป็นคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศที่มีสมาชิกทั้งหมด 14 รัฐ สำหรับการตรวจสอบอาวุธปืนแบบพกพา ตามอนุสัญญาตั้งแต่ปี ค.ศ.1969 มีกฎระเบียบว่า อาวุธปืนพกพา แม็กกาซีน ลูกกระสุน และชิ้นส่วนที่สำคัญทั้งหมดจะต้องผ่านการตรวจสอบทางกฎหมายภายใต้ C.I.P. ของประเทศ ซึ่ง C.I.P. มีเป้าหมาย และภารกิจที่ต้องตรวจสอบดังนี้
1. ตรวจสอบวัดแรงดันในการยิง โดยใช้แม็กกาซีนที่มาพร้อมกับตัวปืน
2. ตรวจสอบ และกำหนดขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติตามของอาวุธปืน เพื่อรับประกันความปลอดภัยทุกระดับการใช้งาน
3. ตรวจสอบมาตรฐานการปรับแต่ง การดัดแปลง มาตรวิทยาการผลิต ตรวจสอบการทำงาน เครื่องมือที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตปืนพกและกระสุน
4. ตรวจสอบขนาดลำกล้องและรังเพลิง ในขั้นตอนนี้เป็นการควบคุมและตรวจสอบขนาดของลูกกระสุนที่สามารถใช้กับปืนกระบอกนั้นได้ (แยกประเภทปืน)
5. ตรวจสอบ ทบทวนทางกฎหมายและข้อบังคับที่ออกโดยประเทศสมาชิกกับการตรวจสอบของอาวุธปืนพก
6. ตราสัญลักษณ์ CIP เพื่อประกาศว่าประเทศผู้ผลิตใดที่ปฏิบัติตามและผ่านมาตรฐานการตรวจสอบ

เมื่อผ่านการตรวจสอบทั้งหมดนี้แล้ว เครื่องหมายของ CIP จะถูกตราสัญลักษณ์ลงไปในชิ้นส่วนหลักๆ 3 ชิ้นส่วนได้แก่ ลำกล้อง สไลด์ และเฟรมปืน เป็นตราสัญลักษณ์เล็กๆ แต่ปืนแบลงค์กันหากสังเกตุดีๆ ในสัญลักษณ์นั้นจะเป็น CIPN เป็นการตรวจสอบแบบมาตรฐานทั่วไปสำหรับปืนแบลงค์กัน แต่สำหรับปืนจริงก็จะมีสัญลักษณ์เช่นเดียวกันแต่จะแตกต่างกันตรงรูปแบบสัญลักษณ์ตามประเทศที่ผลิต นั่นหมายความว่าการตรวจสอบนั้นแม้จะเหมือนกัน ทั้งในเรื่องของความปลอดภัย และคุณภาพของวัสดุ แต่กระสุนที่ใช้ในการตรวจสอบแตกต่างกันนั้นหมายความว่า ปืนแบลงค์กันจะไม่สามารถใช้ขับเคลื่อนลูกกระสุนจริงได้ อีกทั้ง C.I.P. ยังเข้ามาตรวจสอบในเรื่องของกระสุน โดยที่กล่องกระสุนที่ผ่านการตรวจสอบจะเขียนว่า CIPM (ตรวจสอบกระสุน) และมีตราสัญลักษณ์อีกตรานึงอยู่ข้างๆ กันซึ่งเป็นตราที่บอกว่าหน่วยงานในรัฐใดเป็นผู้ตรวจสอบ

และ P.T.B. หรือ Physikalisch-Technische Bundesanstalt เป็นหนึ่งในชื่ออันดับต้นๆ ของมาตรวิทยาทั่วโลกในฐานะสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติของประเทศเยอรมนี เป็นหน่วยงานมีอำอาจสูงสุดและเป็นเพียงหน่วยงานเดียวของเยอรมนีในด้านการวัดที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ซึ่ง P.T.B. เป็นหน่วยงานทางด้านเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวัด การวิเคราะห์ การทดสอบ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติจริง ใช้ระบบการจัดการคุณภาพแบบที่ได้มาตรฐาน ISO / IEC 17025 และเป็นไปตามมาตรฐาน ISO 9001 ที่มีความเกี่ยวข้องกับอาวุธเช่น อาวุธสำหรับการทำให้ระคายเคือง(เครื่องช็อตไฟฟ้า) และอาวุธที่ใช้เป็นอุปกรณ์ส่งสัญญาณเสียง(ปืนแบลงค์กัน) จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องหมายตราสัญลักษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบของหน่วยงาน P.T.B. และรับเครื่องหมาย PTA หรือ PTB สำหรับการตรวจสอบอาวุธและเครื่องกระสุน โดยปืนแบลงค์กันที่ถูกตรวจสอบโดย P.T.B. จะมีตราสัญลักษณ์ PTB พร้อมเลขซึ่งในการตรวจสอบนั้นจะมีการตรวจสอบคุณภาพของอาวุธปืนในอุตสาหกรรมการผลิตปืน ทางด้านวัสดุโดยรวมทั้งหมด รวมถึงตรวจสอบความแข็งแรง ปลอดภัยของวัสดุเมื่อใช้งาน ที่ผ่านกระบวนการทดสอบทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมความปลอดภัยที่มีความแม่นยำสูง จึงมีความเชื่อถือได้ ว่าสัญลักษณ์ P.T.B. เป็นสิ่งที่ยืนยันคุณภาพในการผลิตของปืนแบลงค์กัน

และเมื่อพูดถึงปืนแบลงค์กัน มักจะมีการเปรียบเทียบระหว่างปืนแบลงค์กันกับปืนจริง ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันแล้ว ตั้งแต่เรื่องของวัสดุที่ใช้ผลิตก็มีความแตกต่างกันโดยปืนแบลงค์กันนั้นใช้โลหะผสมซิงค์อัลลอยที่มีความเหมาะสมกับดินดอกไม้เพลิง ส่วนปืนจริงนั้นจะใช้เหล็กกล้าที่ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้มีความแข็งแรงทนทานต่อแรงขับเคลื่อนกระสุน และกระสุนของแบลงค์กันจะใช้กระสุนสกุล Knall ที่ประกอบด้วย Steel Case และบรรจุดินดอกไม้เพลิงเมื่อเกิดการประทุจะเกิดเพียงเสียงและแฟลชเท่านั้นไม่ขับเคลื่อนวัตถุใดๆ ออกจากลำกล้อง อีกทั้งยังถูกควบคุมโดย C.I.P. และ P.T.B. เพื่อป้องกันการดัดแปลงและให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของปืนแบลงค์กัน ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่จะนำปืนแบลงค์กันมาเปรียบเทียบกับปืนจริง

ในสหภาพยุโรปฯมองว่า ประชาชนไม่มีสิทธิ์ที่จะครอบครองอาวุธปืนจริงได้แต่มีสิทธิ์ที่จะป้องกันตัวได้
ปืนแบลงค์กันจึงผลิตขึ้นเพื่อเป็นปืน Emergency Alarm ส่งสัญญาน ขอความช่วยเหลือ จากภัยคุกคาม ด้วยลูกกระสุนเสียงและปืนชนิดเฉพาะทาง ขนาด 9mm P.A.K. (Pistol Automatic Knall) ควบคุมการผลิต ซึ่งถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีเทียมอาวุธปืนใหม่ล่าสุดที่ในสหภาพยุโรป มีเพื่อใช้ Self-defense จึงเข้ามาลดและทดแทนการใช้ปืนจริง เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ ปี 2001 ซึ่งปืนชนิดนี้ ยิงเสียงดัง แต่ไม่อาจทำความสาหัส หรือ อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Non-lethal weapon แบลงค์กัน (Blank gun หรือ Pistol Automatic Knall ) เป็นที่นิยมในการใช้เป็นสิทธิ์ป้องกันตัวด้วยเสียง"เตือนเหตุและปลอดภัยทุกทิศทาง" แผร่หลายไปถึงประเทศรัสเซียและยูเครนในปีต่อมา

ปี 2008 ปืนแบลงค์กันได้รับความนิยมมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา โดยนำไปใช้ฝึกในงานรณยุทธ หน่วยงานราชการ ทหาร ตำรวจ ตามมาด้วยการนำไปจัดแสดงคาวบอยโชว์ ประกอบฉากในภาพยนตร์ในฮอลลีวูด หลังจากเกิดเหตุความตายของ แบรนดอน ลี ในปี 1993 เรื่องThe Crow ที่นำอาวุธปืนจริงมาแสดงแล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น ซึ่งนี้คือเหตุผลว่าทำไมพวกเขาเลือกใช้เทคโนโลยีความปลอดภัยอย่างปืน แบลงค์กัน ทดแทนอาวุธปืนจริงซึ่งอาจเกิดความผิดพลาดถึงแก่ชีวิต

ในขณะที่สถิติของผู้เคราะห์ร้ายในประเทศเรา มีผู้ประสบอุบัติเหตุ ถูกกระสุนตกโดนจนถึงแก่ความตายในช่วงวันเทศกาลปีใหม่บ่อยครั้ง และเราเชื่อว่าคุณคงไม่ปรารถนาให้เกิดขึ้นกับตัวคุณอย่างแน่นอน

นี้คือเหตุผลว่าทำไมคุณต้องเลือกของสะสมที่ทำให้คุณสุขใจมาพร้อมกับเทคโนโลยีความปลอดภัย อย่าง แบลงค์กัน 9mmPAK ของเรา
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้